วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

WiMAX & WiBro Technology

WiMAX & WiBro Technology

WiMAX คืออะไร?

WiMAX เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่า จะถูกนำมาใช้งานในอนาคตอันใกล้นี้ โดย WiMAX เป็นชื่อย่อของ Worldwide Interoperability for Microwave Access ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a ขึ้น โดยได้การอนุมัติออกมาเมื่อเดือนมกราคม 2004 โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ซึ่งมีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMAX สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว

โดยมาตรฐาน IEEE 802.16a หรือ WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณในลักษณะจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-multipoint) ได้พร้อมๆ กัน โดยมีความสามารถรองรับการทำงานในแบบ Non-Line-of-Sight ได้ สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ WiMAX สามารถช่วยให้ผู้ที่ใช้งาน สามารถขยายเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางด้วยรัศมีทำการถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 Mbps มาตรฐาน IEEE 802.16a นี้ใช้งานอยู่บนคลื่นไมโครเวฟที่ความถี่ระหว่าง 2-11 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) และยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐานชนิดอื่นๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี
จากจุดเด่นของการทำงานของ WiMAX ข้างต้น ทำให้เทคโนโลยีตัวนี้สามารถตอบสนองความต้องการของการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้กับพื้นที่ที่ห่างไกล ที่สายเคเบิ้ลไม่สามารถลากไปไม่ถึงได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบาย และประหยัดสำหรับการขยายเครือข่ายในเมืองที่มีอยู่แล้วได้ เนื่องจากไม่ต้องลงทุน ขุดถนนเพื่อวางสายเคเบิลใยแก้วใหม่ นอกจากนั้น WiMAX หรือบรอดแบนด์ไร้สาย มาตรฐาน IEEE 802.16a ยังได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพของคุณภาพในการให้ ผู้บริการ (QoS) ซึ่งสามารถรองรับการใช้ การใช้งานภาพ (video) หรือการใช้งานเสียง (voice) ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรของเครือข่ายมากอย่างเก่า (low-latency network) อีกทั้งในเรื่องของความปลอดภัยยังได้เพิ่มคุณสมบัติของความเป็นส่วนตัว (privacy) ซึ่งต้องได้รับอนุญาต (authentication) ก่อนที่จะเข้าออกเครือข่าย และข้อมูลต่างๆ ที่รับส่งก็จะได้รับการเข้ารหัส (encryption) อีกด้วย ทำให้การรับส่งข้อมูลบน มาตรฐานตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวนี้ ทำให้เราสามารถนำ WiMAX ไปประยุกต์เพื่อลดช่องว่างของ เทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกลที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสนองความต้องการ การใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการติดตั้งเครือข่ายในแบบวางสายสัญญาณที่ใช้งานกันอยู่

สำหรับมาตรฐานของเทคโนโลยี WiMAX ที่มีการพัฒนาขึ้นมาในขณะนี้นั้น มีดังต่อไปนี้
IEEE 802.16 เป็นมาตรฐานที่ให้ระยะทางการเชื่อมโยง 1.6 – 4.8 กิโลเมตร เป็นมาตรฐานเดียวที่สนับสนุน LoS (Line of Sight) โดยมีการใช้งานในช่วงความถี่ที่สูงมากคือ 10-66 กิกะเฮิรตซ์ (GHz)
IEEE 802.16a เป็นมาตรฐานที่แก้ไขปรับปรุงจาก IEEE 802.16 เดิม โดยใช้งานที่ความถี่ 2-11 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งคุณสมบัติเด่นที่ได้รับการแก้ไขจากมาตรฐาน 802.16 เดิมคือคุณสมบัติการรองรับการทำงานแบบที่ไม่อยู่ในระดับสายตา ( NLoS - Non-Line-of-Sight) ทั้งยังมีคุณสมบัติการทำงานเมื่อมีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น ต้นไม้, อาคาร ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังช่วยให้สามารถขยายระบบเครือข่ายเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงได้อย่างกว้างขวางด้วยรัศมีทำการที่ไกลถึง 31 ไมล์ หรือประมาณ 48 กิโลเมตร และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ทำให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อการใช้งานระบบเครือข่ายของบริษัทที่ใช้สายประเภท ที1 (T1-type) กว่า 60 รายและการเชื่อมต่อแบบ DSL ตามบ้านเรือนที่พักอาศัยอีกหลายร้อยครัวเรือนได้พร้อมกันโดยไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน
IEEE 802.16e เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพาประเภทต่างๆ เช่น อุปกรณ์พีดีเอ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น โดยให้รัศมีทำงานที่ 1.6 – 4.8 กิโลเมตร มีระบบที่ช่วยช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม
WiMAX IEEE 802.16

คุณสมบัติเด่นของ WiMAX IEEE 802.16
เรื่องของความเร็ว WiMAX นั้น ได้ให้อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลมากถึง 75 Mbps โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณที่ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งออกไปได้ไกลมากถึง 300 ไมล์ หรือ 48 กิโลเมตร
การบริการที่ครอบคลุม WiMAX ใช้เทคนิคการแปลงสัญญาณที่ให้ความคล่องตัวในการใช้งานสูง และเปี่ยมประสิทธิภาพ และก็ยังสามารถรองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี เพื่อขยายพื้นที่การให้บริการให้กว้างขวางมากขึ้นได้
การประหยัดต้นทุนของระบบ WiMAX ไม่มีข้อจำกัด ไม่ต้องอาศัยสายส่งสัญญาณ ทำให้ลดต้นทุนในการติดตั้งระบบ

จุดอ่อนของ WiMAX IEEE 802.16
· ความใหม่ของมาตรฐานระบบ WiMAX เนื่องจากเพิ่งมีการคิดค้น ดังนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของมาตรฐานรวมไปถึงผู้ผลิตที่นำเอามาตรฐาน WiMAX ไปพัฒนาต่อเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานจริงก็มีจำนวนน้อย รวมไปถึงราคาของอุปกรณ์ที่ค่อนข้างสูง และเรื่องของความถี่ในการให้บริการจะใช้ความถี่ช่วง 2 – 6 GHz ซึ่งในบางประเทศเป็นช่วงความถี่ที่มีการควบคุม ต้องมีการขออนุญาตก่อนให้บริการ และในบางประเทศไม่มีข้อกำหนดตรงนี้ ดังนั้นผู้ลงทุนต้องศึกษาหาข้อมูลให้ระเอียดเสียก่อน
รูปพัฒนาการของมาตราฐานของเทคโนโลยี WiMAX (IEEE 802.16)

Mobile WiMax หรือ WiBro คืออะไร
WiBro (Wireless Broadband) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Mobile WiMax คือ เทคโนโลยีสื่อสารตัวใหม่ที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ในขณะเคลื่อนที่ ซึ่งบรอดแบรนด์ไร้สายดังกล่าวนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นระบบสื่อสารเคลื่อนที่ที่ถูกจัดไว้ในมาตรฐาน IEEE 802.16 เช่นเดียวกับ WiMAX (Worldwide interoperability for Microwave Access) มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับ Wimax แต่ถูกออกแบบให้รักษาการเชื่อมต่อในขณะที่ลูกข่ายมีการเคลื่อนที่ การติดตามและการรับสัญญาณขณะเคลื่อนที่ทำได้ที่ความเร็วสูงสุด 60 กม./ชม. ซึ่งต่างกับ WiMAX ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานในสภาวะหยุดนิ่ง เป็นเทคโนโลยีที่ถูกจับตาว่า เป็นปรากฎการณ์ใหม่ของตลาดการให้บริการสื่อสารอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่สามารถให้บริการทั้งในรูปแบบประจำ (fixed) เคลื่อนที่ตามจุด (Nomadic) และเคลื่อนที่อิสระ (Mobile) เพื่อการรองรับการทำงานของแอคพลิเคชั่นทั้งในรูปแบบของไฟล์ข้อมูล เสียงและวิดีโอ ดังนั้น ด้วยการเชื่อมต่อแบบเคลื่อนที่ตามจุด จะทำให้ผู้ใช้ไม่ถูกจำกัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ณ จุดใดจุดหนึ่ง แต่สามารถเลือกใช้งานจากจุดอื่นๆภายในเครือข่ายเดียวกันได้ ในขณะที่การเชื่อมต่อแบบอิสระ จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ในทุกที่แม้ขณะที่กำลังเดินทาง ความสามารถในการทำงานร่วมกัน (interoperability) ของเทคโนโลยี Mobile WiMax ช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อไปยังบริการหรือแอพลิเคชั่นส์ต่างๆ จากอุปกรณ์ หรือเครือข่ายระดับโลกที่แตกต่างและหลากหลายบนมาตรฐานของ WiMax ได้

บริการ WiBro จะเร็วกว่า Wi-Fi ถึง 25% โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ใกล้ฮอตสปอตตลอดเวลา ซึ่งทำให้สมาชิกผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งานได้อย่างอิสระในราคาที่ถูกอีกด้วย WiBro มีคุณสมบัติที่ดีหลายประการคือ สามารถรับและส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 50 Mbps โดยมีรัศมีการครอบคลุมได้ไกลถึง 5 กิโลเมตร นอกจากนี้ WiBro ยังรั บประกันคุณภาพการใช้บริการ (Quality of Service) จึงสามารถใช้รับและส่งข้อมูลที่ Loss-Sebsitive อื่นๆได้ด้วย ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า WiBro เหมาะอย่างมากกับบริการโทรคมนาคมยุคใหม่ที่เป็นแบบ Mobile Mutimedia

โดยสรุปก็คือ WiBro หมายถึง บรอนด์แบรนด์ไร้สายที่ถูกพัฒนาในประเทศเกาหลีใต้ โดยมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างมากกับบริการโทรคมนาคมแบบ Mobile Multimedia คือสามารถรับและส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูง โดยมีรัศมีการคลอบคลุมได้ไกล สามารถใช้งานในสภาวะเคลื่อนที่ได้ที่ความเร็วสูง และยังรับประกันคุณภาพการให้บริการด้วย
จุดเด่นของ WiBro คุณลักษณะเด่นในเชิงเทคนิคของระบบ WiBro ซึ่งบางทีอาจเป็นภัยคุกคามที่สามารถเข้าแทนที่ระบบสื่อสารที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่าง High-speed Internet ADSL และ ระบบสื่อสารเคลื่อนที่เซลลูล่า สามารถสรุปได้ดังนี้คือ(1) ความเร็วในการส่งข้อมูลในระดับ Broadband คือในระดับสูงกว่า 10 เมกกะบิตต่อวินาที(2) ความสามารถในการสื่อสารในระดับ Broadband ระหว่างการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (3) ระบบสื่อสารที่มีอยู่เดิมเช่นระบบสื่อสารเคลื่อนที่เซลลูล่า สามารถนำมาปรับปรุงต่อเติมทำให้เกิดระบบ WiBro ได้ไม่ยากนักและลงทุนไม่สูงจนเกินไป(4) เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์โมไบล์ได้ตลอดเวลา แม้ขณะเดินทางตามรายงานข่าวมีการอ้างว่า ผู้ใช้สามารถใช้บริการ WiBro บนรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้อย่างสบายๆ โดยซัมซุงได้สาธิตการใช้บริการ WiBro ด้วยอุปกรณ์โมไบล์ของทางบริษัทเป็นครั้งแรกในเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นก่อนผู้ค้ารายอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทางบริษัทในการบุกตลาดนี้ต่อไป

การพัฒนาเทคโนโลยีของ Mobile Wimax
Physical Layer ของ Mobile WiMAX 802.16e นั้นก็ยังคงใช้งาน OFDMA (Orthogonal Frequency Division Multiple Access) เป็นหลักเช่นเดิม OFDMA เป็นเทคนิคการมัลติเพล็กซ์ทางความถี่ที่ไม่มีช่วงความถี่กันชน ช่วงสัญญาณความถี่ย่อยต่างๆ จะอยู่ชิดติดกันมากจนกระทั่งเกยกัน (Overlap) หลักการคือการใช้ความถี่ที่เป็นอิสระต่อกัน (Orthogonal) ซึ่งจะช่วยให้ช่วงความถี่ย่อยนั้นสามารถเกยกันได้โดยที่ไม่มีการรบกวนข้อมูลของกันและกัน ซึ่งสามารถใช้งานในแบนด์วิดธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า โดย OFDMA ได้แบ่งช่องสัญญาณต่างๆ เป็นช่องสัญญาณย่อย (Subchannel) ให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งเทคนิคนี้จะกินแบนด์วิดธ์กว้างเท่าเดิม แต่จะได้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลแบ่งกันไปใช้ สิ่งที่แตกต่างสำหรับ 802.16e คือจะใช้ Scalable OFDMA (S-OFDMA) ซึ่งมีแบนด์วิดธ์ที่แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ช่วยให้การจัดการแบนด์วิดธ์ของผู้ใช้งานแต่ละคนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องการใช้น้อยก็ให้แบบแบด์วิดธ์น้อย ถ้าใช้มากก็ให้มาก ทำให้รองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แบนด์วิดธ์ต่างกันนี้เกิดขึ้นจากการปรับขนาดของ Fast Fourier Transform (FFT) ที่ฝั่งผู้รับซึ่งใช้ในการถอดข้อมูลที่ใช้งานออกมาโดยที่ยังเว้นระยะระหว่างความถี่ sub-carrier ไว้ที่ 10.94 กิโลเฮิรตช์ โดยแบนด์วิดธ์ต่างๆ ที่จะมีได้แก่ 1.25, 5, 10 และ 20 เมกะเฮิรตช์ แต่ในรีลีสแรกนี้กลุ่มของ Technical Working Group ของ WiMAX Forum ได้กำหนดให้มีเพียงแค่ 5 และ 10 เมกะเฮิรตช์ก่อนเท่านั้น
กลุ่มมาตรฐาน 802.16 ปกติจะ Backward compatible คืออุปกรณ์ในเวอร์ชันก่อนจะใช้ในเวอร์ชันถัดไปมีข้อยกเว้นขึ้นมา เพราะทั้ง OFDMA และ S-OFDMA จัดเป็นเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน และไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ และใช้เทคนิคบางอย่างเหมือนกันก็ตาม แต่ข้อแตกต่างในรายละเอียดทีมากเกินไป

ความแตกต่างของสิ่งที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีแตกต่างกันนั้นก็คือการใช้ OFDMA นั้นค่อนข้างจะง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ SOFDMA มีปัญหาด้านสัญญาณรบกวน interface น้อยกว่า มีความสามารถในด้านการทำงานแบบนอกแนวระยะสายตา (NLOS) ได้ดีกว่า การบริการที่ได้ในพื้นที่ต่างๆ จึงดีกว่าไปด้วย อาจจะมองไม่ค่อยเห็นภาพนัก ลองนึกถึงการทำงานแบบ LOS ที่ห้ามมีอะไรมาบดบังการรับส่งกัน ฉะนั้นหากเดินผ่านพุ่มไม้เล็กๆ การบริการก็จะมีปัญหาแล้ว ในขณะที่การทำงานแบบ NLOS จะไม่มีปัญหานี้มากนักจึงทำให้มีพื้นที่ใช้งานดีกว่า 802.11e สามารถที่จะใช้งานได้ทั้งแบบ TDD, FDD และ Half-Duplex FDD อย่างไรก็ตามสำหรับเวอร์ชันแรกนี้ก็จะให้ใช้ได้เพียง TDD ซึ่งจะมีข้อดีต่างๆ ที่เหนือกว่า FDD ดังนี้

• การใช้ TDD จะทำให้เราสามารถปรับอัตราส่วนทราฟฟิกดาวน์ลิงก์และอัปลิงก์ได้ ทำให้เราสามารถจัดอัตราส่วนให้เหมาะสมกับการใช้งาน อย่างเช่น การดาวน์โหลดหรือการอัปโหลดต่างๆ ทำได้ดีขึ้น ได้ความเร็วและประสิทธิภาพที่ดีกว่า ในขณะที่ FDD จะทำได้แต่ในกรณีที่ดาวน์ลิงก์กับอัปลิงก์มีแบนด์วิดธ์เท่ากันเท่านั้น ใช้มากใช้น้อยก็แบ่งให้เท่านี้
• TDD จะมีระบบสนับสนุนการทำ Link Adaptation, MIMO และเทคโนโลยีด้านเสาอากาศรับส่งแบบ closed loop ที่ดีกว่า TDD จะมีช่องความถี่เดียวในการรับและส่งซึ่งจะมีข้อดีมากกว่า ในขณะที่ FDD จะต้องมีช่องความถี่เป็นคู่ ซึ่งทำให้การออกแบบภาครับส่งสัญญาณความถี่ยุ่งยากและมีราคาแพงมากขึ้น และยังอาจจะยุ่งยากต่อการกำหนดช่วงความถี่ในประเทศต่างๆซึ่งอาจมีการใช้งานความถี่บางช่วงไปแล้วก็ได้สำหรับการมอดูเลชันและการเข้าโค้ดนั้น 802.11e ยังคงใช้งาน QPSK, 16QAM และ 64QAM พร้อมกับการทำ Link Adaptation เช่นเดิมหากแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเข้ารหัสโดยหันมาใช้ Convolutional Code และ Convolutional Turbo Code แทน ลักษณะพิเศษของ Mobile WiMAX





1. เทคโนโลยี Smart Antenna
เป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่ว่ากันว่าเป็นอนาคตของระบบการสื่อสารไร้สายเลยทีเดียวซึ่งเราอาจเรียกว่าการใช้เทคโนโลยี MIMO (Multiple Input Multiple Output) ก็ได้ โดยมีการใช้เสาอากาศรับส่งมากกว่า 1 ตัว มีการทำงานแบบ Spatial Multiplexing (SM) ซึ่งเป็นการเพิ่มอัตราการรับส่งข้อมูลจากการที่มีเสาอากาศ 2 ชุดด้วย ถ้าหากมีการแยกกันส่งเป็นชุดข้อมูล 2 ชุดก็จะได้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็น 2 เท่า ดาวน์ลิงค์จาก 30 Mbps ก็จะกลายเป็น 60 Mbps และอัปลิงค์จาก 14 Mbps จะเป็น 28 Mbps เป็นต้น (ตัวเลขที่คำนวณจากการส่งดาวน์ลิงค์หรืออัปลิงค์เพียงอย่างเดียว และใช้ช่องสัญญาณ 10 เมกะเฮิรตซ์) และมีการทำ Beam Forming ซึ่งเป็นเทคนิคในการใช้เสาอากาศหลายๆ ตัวช่วยในการเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณในบางพื้นที่ ทำให้มีระดับการให้บริการดีขึ้นระบบ OFDMA ในไวแมกซ์นั้นเหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยี Smart Antenna ดังนั้น Mobile WiMAX จึงสนับสนุนการใช้งานที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ตัวอย่างเช่น ในสภาพที่สัญญาณดีๆ ก็จะใช้ในลักษณะ SM เพื่อให้ได้ความเร็วเพิ่มขึ้นหากเมื่อมีสัญญาณที่เริ่มไม่ดีก็จะเปลี่ยนมาใช้ STC เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้น เป็นต้น

2. Fractional Frequency Reuse

Mobile WiMAX จริงๆ แล้วสามารถที่จะทำงานได้ด้วยความถี่ชุดเดียวกันหมดทุกๆ สถานีฐาน ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพด้านความถี่สูงที่สุด แต่ด้วยรูปแบบการใช้งานเช่นนี้ จะมีระดับความถี่รบกวนสูง และจะทำให้ผู้ใช้งานที่ขอบสัญญาณใช้งานได้ไม่ดี มีปัญหาในเรื่องของคุณภาพสัญญาฯมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ Mobile WiMAX ที่ต้องมีการ Handoff แต่ละสถานีฐานต้องมีพื้นที่สัญญาณครอบคลุมทับซ้อนกันล้าง ทำให้ความถี่รบกวนซึ่งกันและกันสูงขึ้น ดังนั้นด้วยความสามารถของ Mobile WiMAX ที่ตัดแบ่งช่วงความถี่ใช้งานได้นั้นก็สามารถที่จะนำหลักการ Frequency Reuse ของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วๆ ไปมาใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความถี่รบกวนได้ ที่เรียกว่า Fractional Frequency Reuse

เทคนิคการทำ Fractional Frequency Reuse จะมีการแบ่งโซนและการแบ่งช่องสัญญาณย่อย ซึ่งโซนด้านในจะทำงานด้วยช่องสัญญาณย่อยทั้งหมดที่มี ขณะที่โซนชั้นนอกก็จะทำงานด้วยช่องความถี่ย่อยเฉพาะที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งก็จะเป็นการแบ่งความถี่ใช้งานและสกัดกั้นไม่ให้เกิดความถี่รบกวนกันในพื้นที่ให้บริการที่ใกล้ชิดติดกันได้ ซึ่งจะมีการกำหนดการแบ่งโซนและช่องสัญญาณในโครงสร้างเฟรมของการรับส่งข้อมูล และอาจปรับเปลี่ยนได้ในแต่ละเฟรม ขึ้นกับระดับความถี่รบกวนที่เกิดขึ้น
สิ่งที่เหมือนกันระหว่าง WiMax & Wibro


1. เป็นเทคโนโลยีที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมกำลังจับตาความเคลื่อนไหวอย่างไม่กะพริบตา เพราะอาจจะเป็นเทคโนโลยีที่อาจจะเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีสื่อสารที่มีการใช้งานอยู่
2. ทั้งสองเทคโนโลยีจัดอยู่ใน มาตรฐาน IEEE 802.16 เช่นเดียวกัน
3. ทั้งสองอาจจะเป็นภัยคุกคามที่ทำลายเทคโนโลยีสื่อสารที่ลงทุนไปแล้วให้ตายไปอย่างรวดเร็วเหมือนกับกล้องดิจิทัลทำลายอุตสาหกรรมฟิล์มหรือไม่ และ ADSL ที่ลงทุนไปอย่างมหาศาลจะถูกลืมไปก่อนที่จะถอนทุนคืนหรือไม่
สิ่งที่ต่างกันระหว่าง WiMax & Wibro

1. ไวแม็กซ์ (WiMAX :Worldwide Interoperability for Microwave Access) นั้นเกิดจากการรวมตัวกันในปี 2544 ของบริษัทชั้นนำอย่างNokia, Agilent, Intracom, Huges, Network,Fujitsu,Microelectronics, Alvairon และอีกหลายบริษัท
2. ไวโบร้ (WiBro: Wireless Broadband) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "โมบาย ไวแม็กซ์" (Mobile WiMax) พัฒนาโดยกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศเกาหลีใต้
3. WiBro มีความสามารถในการดาวน์โหลดข้อมูลในระดับสูงกว่า 10 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีรัศมีการครอบคลุมได้ไกลถึง 5 กิโลเมตร ในขณะที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นั่นคือมีความสามารถ บรอดแบนด์ และโมบิลิตี้ (Broadband & Mobility) ร่วมกันทั้งสองประการ แต่ WiMax สามารถให้บริการ Broadband ในรัศมีห่างออกไป 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร) และสามารถส่งข้อมูลได้ราว 70 เมกะบิตต่อวินาที แต่หากเคลื่อนที่อยู่จะไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณได้หรือความเร็วอาจลดลงอย่างมากนั่นคือปัญหาด้าน

Mobility Reference Site:
· http://www.guru-ict.com/guru/index.php?option=com_content&task=view&id=162&Itemid=26
· http://www.vcharkarn.com/varticle/17890
· http://www.wimaxthailand.com/readarticle.php?article_id=7
· http://th.wikipedia.org/wiki/WiMAX
· http://www.wimax.com/education/faq/faq12a
· http://en.wikipedia.org/wiki/WiBro
· http://www.itu.int/ITU-D/imt-2000/documents/Busan/Session3_Yoon.pdf
· http://www.eurasip.org/Proceedings/Ext/IST05/papers/1014.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น